สหภาพการรถไฟฯ ร้องคมนาคมทบทวนคำสั่งเปลี่ยนสถานี

สหภาพการรถไฟฯ ร้องคมนาคมทบทวนคำสั่งเปลี่ยนสถานี

สืบเนื่องจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีนโยบายแผนการดำเนินการกำหนดเปิดให้บริการขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ (รถไฟทางไกล) ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ซึ่งจะมีผลให้

1.ขบวนรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือทุกขบวน จะวิ่งบนโครงสร้างทางยกระดับเช่นเดียวกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ตั้งแต่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์จนถึงสถานีดอนเมือง จะไม่มีขบวนรถโดยสารวิ่งระดับพื้นดิน

2.ขบวนรถในเส้นทางสายใต้จะวิ่งบนโครงสร้างทางยกระดับรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ตั้งแต่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ถึงสถานีบางบำหรุ ยกเว้นขบวนรถธรรมดา และขบวนรถชานเมืองในเส้นทางสายใต้ จะเดินรถระดับพื้นดินตั้งแต่สถานีชุมทางบางซื่อ-สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)

3.ขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จะเปลี่ยนสถานีต้นทาง-ปลายทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) มาที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวน 52 ขบวน ประกอบด้วยสายเหนือ 14 ขบวน สายใต้ 20 ขบวน และสายตะวันออกเฉียงเหนือ 18 ขบวน

4.กลุ่มขบวนรถธรรมดา ขบวนรถชานเมือง และขบวนรถนำเที่ยวทุกสาย จำนวน 62 ขบวน ยังคงให้บริการต้นทาง-ปลายทางที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามเดิม โดยตั้งแต่สถานีกรุงเทพ สามเสน ชุมทางบางซื่อ จะขึ้นทางยกระดับเดินรถร่วมกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง ยกเว้นขบวนรถธรรมดาและชานเมืองในเส้นทางสายใต้ จะเดินรถระดับพื้นดินตั้งแต่สถานีชุมทางบางซื่อไปตามเส้นทางเดิม

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) สภาองค์กรของผู้บริโภค สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และสมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) ไปรวมตัวกันที่กระทรวงคมนาคม เพื่อยื่นหนังสือถึงนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ชะลอคำสั่งดังกล่าวที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟ

สหภาพการรถไฟฯ ร้องคมนาคมทบทวนคำสั่งเปลี่ยนสถานี

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมอบหมายให้นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกมารับหนังสือแทน

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) สภาองค์กรของผู้บริโภค สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และสมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) ออกแถลงการณ์ร่วม 4 องค์กร ระบุว่า

“จากที่มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ และรูปแบบการเดินรถเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) แล้วนั้น ที่ประชุมคณะอนุกรรมการ ได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม เช่น การจัดทำแผนการจัดระบบหมุนเวียนผู้โดยสารภายในสถานีกลางบางซื่อ การจัดทำแผนการจัดกิจกรรมเพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปรับย้ายการบริการรถไฟเชิงพาณิชย์ โดยเป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบให้การรถไฟฯ ดำเนินการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนทุกครั้ง”

“สาระสำคัญในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา 58 บัญญัติไว้ว่า ‘การดำเนินการใดของรัฐ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้ส่วนเสียสําคัญอื่นใดของประชาชน หรือชุมชนอย่างรุนแรง รัฐต้องดําเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ ในการดําเนินการ รัฐต้องระมัดระวังให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด และต้องดําเนินการให้มีการเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ประชาชน หรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า’”

“แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกลับไม่ดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รวมทั้งมติที่ประชุมของคณะอนุกรรมการแต่อย่างใด เมื่อไม่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตั้งแต่แรก ปัญหาย่อมเกิดตามมา”

“จากกรณีที่ไม่มีขบวนรถไฟทางไกลเข้าสถานีหัวลำโพง การเกิดผลกระทบกับประชาชนเป็นวงกว้าง ย่อมหนีไม่พ้นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนโดยไม่มีทางเลือก การไม่ได้รับความสะดวกต้องเสียเวลาเพิ่มในการเดินทาง มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น นอกจากนั้นแล้ว พื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อยังไม่มีความพร้อมอีกหลายด้านในการให้บริการกับผู้โดยสาร เช่น การให้ผู้โดยสารต้องเปลี่ยนการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีแดงเพื่อใช้เดินทางระหว่างสถานีรังสิต-สถานีกลางบางซื่อ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะต้องขนของแบกสัมภาระที่ได้นำมาจากต่างจังหวัดแล้วเปลี่ยนแปลงขบวนรถเพื่อไปให้ถึงปลายทาง”

“ส่วนระบบ feeder ที่รองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่มาใช้บริการ ถึงแม้ว่าทางการรถไฟฯ จะได้มีการประสานงานกับ ขสมก. ให้จัดรถมารับ-ส่งผู้โดยสารแล้วก็ตาม แต่ปริมาณผู้โดยสารกับจำนวนรถที่จัดมารับ-ส่ง จะเพียงพอหรือไม่ และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมานั้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ หากดำเนินการด้วยความเร่งรีบขาดความพร้อมในมาตรการรองรับที่ดี จะส่งผลกระทบในการใช้บริการของผู้โดยสาร อีกทั้งจะไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของกิจการรถไฟฯ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม”

แถลงการณ์ดังกล่าวเสนอทางแก้ปัญหาต่อกระทรวงคมนาคม 3 ข้อ ดังนี้

1.ขอให้สั่งการตรวจสอบและทบทวนกำหนดการเปิดสถานีกลางบางซื่อ และแผนการปรับย้ายขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ (รถไฟทางไกล) จากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) มาสถานีกลางบางซื่อที่จะดำเนินการในวันที่ 19 มกราคม 2566 โดยเร่งด่วน

2.ในระหว่างการตรวจสอบ สำหรับขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ขอให้ยังคงสถานีต้นทาง-ปลายทางอยู่ที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไว้ก่อน

3.ขอให้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยเร่งด่วน ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงจากผู้บริโภคและประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบที่ใช้บริการ ตามนโยบายของกระทรวง และข้อเสนอแนะของสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศอย่างยั่งยืน

ติดตามข่าสารเพิ่มเติมได้ที่ jacarandabill.com

แทงบอล

Releated